Chandrekasem Rajabhat University

วันอังคารที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

วันพุธที่ 19 เมษายน 2560


     เนื้อหาการเรียนการสอน
















การนำไปประยุกต์ใช้
      นำความรู้ที่ได้เขียนแผนไปใช้ในการเรียนการสอน เเละสามารถนำไปทำกิจกรรมทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียนได้

วันพุธที่ 13 เมษายน 2560 



เป็นวันหยุด วันสงกรานต์


.............................................

วันพุธที่ 5 เมษายน 2560


     เนื้อหาการเรียนการสอน


ค้นคว้าด้วยตัวเอง


.............................................

วันเสาร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2560

วันพุธที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2560

     เนื้อหาการเรียนการสอน

โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล 
แผน IEP
-แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น
-เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเขา
-ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก

-โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผลเด็ก
           ประโยชน์ต่อเด็ก
         -ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน
         -ได้มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพของตน
         -ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
         -ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉยๆ
       ประโยชน์ต่อครู
-เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก
-เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะกับเด็ก
-ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป
-เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็ก
-ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ
ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
-ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้สูงสุดตามศักยภาพ
-ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกลูกของตนอย่างไร
-เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง และใกล้ชิดระหว่างบ้านกับโรงเรียน

หลังจากนั้นอาจารย์จึงได้ให้นักศึกษาทุกคนวาดรูปเส้นลายมือของตนเองโดยห้ามดู



และหลังจากที่วาดรูปลายมือของตนเองเสร็จแล้ว ให้นำมาส่งอาจารย์แล้วอาจารย์จะให้นักศึกษาตามหาลายมือที่ตนเองได้รับรูปมือคืนจากอาจารย์ เพื่อให้นักศึกษามีการสังเกตภาพลายมือของเพื่อนว่าเพื่อนจะสามารถวาดรูปให้เราแกะรูปออกหรือไม่

หลังจากนั้นก็ได้ให้นักศึกษาวาดรูปวงกลมตามที่ตัวเองชอบจะระบายกี่สีก็ได้ การวาดรูปวงกลมสามารถบอกจิตใจส่วนลึกของเด็กได้



เมื่อทุกคนได้วาดรูปวงกลมเสร็จแล้ว อาจารย์ก็ได้ให้ทุกคนนำภาพวงกลมไปติดกะต้นไม้กระดานหน้าห้อง


การนำไปประยุกต์ใช้
สามารถใช้กิจกรรมไปเรียนรู้จิตใจส่วนลึกของเด็กที่เรียนรวมได้
และยังจัดกิจกรรมให้เด็กได้ทำงานร่วมกัน




วันเสาร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2560

วันพุธที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2560

     เนื้อหาการเรียนการสอน

การส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรมเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
-เพื่อให้เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้ในชีวิตประจำวัน
-ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ใกล้เคียงกับคนปกติมากที่สุด 
เน้นการดูแลแบบองค์รวม 
1. การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา
  -เพิ่มทักษะพื้นฐานด้านสังคม การสื่อสาร และทักษะทางความคิด
  -เกิดผลดีในระยะยาว
  -เน้นการเตรียมความพร้อมเพื่อให้เด็กสามารถใช้ในชีวิตประจำวันจริงๆแทนการฝึกแต่เพียงทักษะทางวิชาการ
  -แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล
  -โรงเรียนการศึกษาพิเศษเฉพาะทาง โรงเรียนเรียนร่วม ห้องเรียนคู่ขนาน
2.การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม
-การฝึกฝนทักษะในชีวิตประจำวัน  
-การฝึกฝนทักษะสังคม 
-การสอนเรื่องราวทางสังคม
3. การบำบัดทางเลือก
-การสื่อความหมายทดแทน (AAC)
-ศิลปกรรมบำบัด (Art Therapy)
-ดนตรีบำบัด (Music Therapy)
-การฝังเข็ม (Acupuncture)
-การบำบัดด้วยสัตว์ (Animal Therapy
การสื่อความหมายทดแทน
-การรับรู้ผ่านการมอง
-โปรแกรมแลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสาร 
-เครื่องโอภา
-โปรแกรมปราศรัย


บทบาทของครู
-ตำแหน่งการนั่งของเด็กไม่ควรให้นั่งติดหน้าต่างหรือประตู
-ให้เด็กนั่งแถวหน้าสุดใกล้โต๊ะครู
-จัดให้เด็กนั่งติดกับนักเรียนที่ไม่ค่อยเล่น ไม่ค่อยคุยในระหว่างเรียน
-ให้เด็กมีกิจกรรม เปลี่ยนอิริยาบถบ้าง

การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ

 ทักษะทางสังคม
-กิจกรรมการเล่น
-ยุทธศาสตร์การสอน
-การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง

ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
-การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา
-ภาษาที่ไม่ใช่คำพูดมาก่อนภาษาพูด
-ให้เวลาเด็กได้พูด
-คอยให้เด็กตอบ (ชี้แนะหากจำเป็น)
-เป็นผู้ฟังที่ดีและโตต้อบอย่างฉับไว (ครูไม่พูดมากเกินไป)
-เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียว
การสอนตามเหตุการณ์




ทักษะการช่วยเหลือตนเอง
    เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด
การกินอยู่
การเข้าห้องน้ำ
การแต่งตัว
กิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน
การสร้างความอิสระ
ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ
หัดให้เด็กทำเอง
ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง

สรุป
-ครูต้องพยายามให้เด็กทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง
-ย่อยงานแต่ละอย่างเป็นขั้นๆ
-ความสำเร็จขั้นเล็กๆนำไปสู่ความสำเร็จทั้งมวล
-ช่วยให้เด็กมีความมั่นใจในตนเอง
                       -เด็กพึ่งตนเองได้ รู้สึกเป็นอิสระ




วันเสาร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2560

วันพุธที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2560

     เนื้อหาการเรียนการสอน
การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย



รูปแบบการจัดการศึกษา
-การศึกษาปกติทั่วไป 
-การศึกษาพิเศษ 
-การศึกษาแบบเรียนร่วม 
-การศึกษาแบบเรียนรวม  
ความหมายของการศึกษาแบบเรียนร่วม 
เด็กที่มีความต้องการพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่
เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา
การเรียนร่วมบางเวลา 
-การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติในบางเวลา
-เด็กพิเศษได้มีโอกาสแสดงออก และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กปกติ 
-เป็นเด็กพิเศษที่มีความพิการระดับปานกลางถึงระดับมาก จึงไม่อาจเรียนร่วมเต็มเวลาได้ 
การเรียนร่วมเต็มเวลา 
-การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติตลอดเวลาที่เด็กอยู่ในโรงเรียน 
-เด็กพิเศษได้รับการจัดกระบวนการเรียนรู้และบริการนอกห้องเรียนเหมือนเด็กปกติ
สรุปความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม
-เป็นการจัดการศึกษาที่จัดให้เด็กพิเศษเข้ามาเรียนรวมกับเด็กปกติ โดยรับเข้ามาเรียนรวมกัน ตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษาและจัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล
-เด็กพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา
บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม
-ครูไม่ควรวินิจฉัย
-ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก
-ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ เช่น พ่อแม่ของเด็กพิเศษ มักทราบดีว่าลูกของเขามีปัญหา พ่อแม่ไม่ต้องการให้ครูมาย้ำในสิ่งที่เขารู้อยู่แล้ว ครูควรพูดในสิ่งที่เป็นความคาดหวังในด้านบวก แต่ต้องไม่ให้เกิดความหวังผิดๆ
ข้อควรระวังในการปฏิบัติ
-ครูต้องไวต่อความรู้สึกและตัดสินใจล่วงหน้าได้
-ประเมินให้น้ำหนักความสำคัญของเรื่องต่างๆได้
-พฤติกรรมบางอย่างของเด็กไม่ได้ปรากฏให้เห็นเสมอไป




หลังจากนั้นอาจารย์จึงได้ให้นักศึกษาวาดรูปดอกบัว



นี่คือผลงานของดิฉัน



การนำไปประยุกต์ใช้
       สามารถนำไปใช้ในการสังเกตเด็กในห้องเรียนรวมว่าเด็กแต่ล่ะคนมีพฤติกรรมแบบไหน และได้รู้จักการประพฤติปฏิบัติกับเด็กอย่างถูกวิธี


วันเสาร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2560

วันพุธที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2560

    อาจารย์ประจำวิชาได้ทำการสอบเก็บคะแนน

......................................