Chandrekasem Rajabhat University

วันพุธที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2560

วันพุธที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2560

          เนื้อหาการเรียนการสอน


















ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
    แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
1. กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความสามารถสูง 
มีความเป็นเลิศทางสติปัญญาเรียกโดยทั่ว ๆ ไปว่า “เด็กปัญญาเลิศ”
ลักษณะของเด็กปัญญาเลิศ
•พัฒนาการทางร่างกายและจิตใจสูงกว่าเด็กในวัยเดียวกัน
•เรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย
•อยากรู้อยากเห็นอย่างจริงจัง ชอบซักถาม
•มีเหตุผลในการแก้ปัญหา  การใช้สามัญสำนึก
•จดจำได้รวดเร็วและแม่นยำ
มีความรู้ ใช้คำศัพท์เกินวัย
มีความคิดริเริ่ม มีวิธีการคิดและแนวคิดแปลกๆ
เป็นคนตื่นตัว เฉียบแหลม ว่องไว และช่างสังเกต
มีแรงจูงใจ และมีความมานะบากบั่นมีความจริงจังในการทำงาน
ชอบแสวงหาสิ่งท้าทายความคิดความอ่าน
ความแตกต่างระหว่าง
เด็กฉลาด                         
•ตอบคำถาม                            
•สนใจเรื่องที่ครูสอน
•ชอบอยู่กับเด็กอายุเท่ากัน 
•ความจำดี
•เรียนรู้ง่ายและเร็ว 
•เป็นผู้ฟังที่ดี 
พอใจในผลงานของตน

        Gifted 
•ตั้งคำถาม 
•เรียนรู้สิ่งที่สนใจ
•ชอบอยู่กับผู้ใหญ่หรือเด็กที่โตกว่า
•อยากรู้อยากเห็น ชอบคาดคะเน
•เบื่อง่าย  
•ชอบเล่า 
•ติเตียนผลงานของตน 


2.  กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความบกพร่อง
1.เด็กที่บกพร่องทางสติปัญญา
2.เด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน
3.เด็กที่บกพร่องทางการเห็น
4.เด็กที่บกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
5. เด็กที่บกพร่องทางการพูดและภาษา
6. เด็กที่บกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
7. เด็กที่บกพร่องทางการเรียนรู้
8. เด็กออทิสติก
9. เด็กพิการซ้อน 


การนำไปประยุกต์ใช้
     
      เมื่อเวลาที่เราได้ไปเจอเด็กแต่ล่ะโรงเรียน เราสามารถที่จะนำความรู้ที่มีอยู่มาใช้ในชีวิตประจำวันได้



วันพุธที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2560

         เนื้อหาการเรียนการสอน





เด็กที่มีความต้องการพิเศษ
     ความหมาย  

1.ทางการแพทย์
มักจะเรียกเด็กที่มีความต้องการพิเศษว่า “เด็กพิการ”

เด็กที่มีความผิดปกติ มีความบกพร่อง สูญเสีย สมรรถภาพ อาจเป็นความผิดปกติ ความบกพร่องทางกาย การสูญเสียสมรรถภาพทางสติปัญญา ทางจิตใจ 
2.ทางการศึกษา
ให้ความหมายเด็กที่มีความต้องการพิเศษว่า หมายถึง
เด็กที่มีความต้องการทางการศึกษาเฉพาะของตัวเอง ซึ่งจ
ำเป็นต้องจัดการศึกษาให้ต่างไปจากเด็กปกติทางด้านเนื้อหา หลักสูตร กระบวนการที่ใช้ และการประเมินผล 
สรุป
   -เด็กที่ไม่อาจพัฒนาความสามารถได้เท่าที่ควรจากการให้การช่วยเหลือ และการสอนตามปกติ
   -มีสาเหตุจากสภาพความ บกพร่องทางร่างกาย สติปัญญา และอารมณ์
   -จำเป็นต้องได้รับการกระตุ้น ช่วยเหลือ
   -การบำบัด และฟื้นฟู
   -จัดการเรียนการสอนที่เหมาะกับลักษณะและความต้องการของเด็กแต่ละบุคล
พัฒนาการ
   การเปลี่ยนแปลงในด้านการทำหน้าที่และวุฒิภาวะของอวัยวะต่างๆรวมทั้งตัวบุคคล
   •ทำให้สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
   เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้ากว่าเด็กปกติในวัยเดียวกัน
   •พัฒนาการล่าช้าอาจพบเพียงด้านใดด้านหนึ่ง หลายด้าน หรือทุกด้าน
   •พัฒนาการล่าช้าในด้านหนึ่งอาจส่งผลให้พัฒนาการในด้านอื่นล่าช้าด้วยก็ได้
สาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ
1.พันธุกรรม
2.โรคของระบบประสาท
3.การติดเชื้อ
4.ความผิดปกติเกี่ยวกับเมตาบอลิซึม
5.ภาวะแทรกซ้อนระยะแรกเกิด
6.สารเคมี
  -แอลกอฮอล์
  -นิโคติน
7.การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม
8.สาเหตุอื่นๆ
แนวทางการวินิจฉัยเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
1.การซักประวัติ
2.การตรวจร่างกาย
3.การสืบค้นทางห้องปฏิบัติการ
4.การประเมินพัฒนาการ
   แบบทดสอบ Denver II 
   •Gesell Drawing Test 
   •แบบประเมินพัฒนาการเด็กตามคู่มือส่งเสริมพัฒนาการเด็กอายุแรกเกิด - 5 ปี สถาบันราชานุกูล
หลังจากนั้นอาจารย์จึงได้ให้นักศึกษาทุกคนวาดรูปที่ขึ้นบนจอ
เพื่อที่จะได้รู้ว่าพัฒนาการสมองอยู่ในขั้นที่เท่าไร


การนำไปประยุกต์ใช้
   สามารถนำไปศึกษาความรู้เพิ่มเติมเพื่อที่จะได้เอาไปใช้สอนเด็กแบบเรียนรวม