Chandrekasem Rajabhat University

วันเสาร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2560

วันพุธที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2560

     เนื้อหาการเรียนการสอน

การส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรมเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
-เพื่อให้เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้ในชีวิตประจำวัน
-ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ใกล้เคียงกับคนปกติมากที่สุด 
เน้นการดูแลแบบองค์รวม 
1. การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา
  -เพิ่มทักษะพื้นฐานด้านสังคม การสื่อสาร และทักษะทางความคิด
  -เกิดผลดีในระยะยาว
  -เน้นการเตรียมความพร้อมเพื่อให้เด็กสามารถใช้ในชีวิตประจำวันจริงๆแทนการฝึกแต่เพียงทักษะทางวิชาการ
  -แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล
  -โรงเรียนการศึกษาพิเศษเฉพาะทาง โรงเรียนเรียนร่วม ห้องเรียนคู่ขนาน
2.การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม
-การฝึกฝนทักษะในชีวิตประจำวัน  
-การฝึกฝนทักษะสังคม 
-การสอนเรื่องราวทางสังคม
3. การบำบัดทางเลือก
-การสื่อความหมายทดแทน (AAC)
-ศิลปกรรมบำบัด (Art Therapy)
-ดนตรีบำบัด (Music Therapy)
-การฝังเข็ม (Acupuncture)
-การบำบัดด้วยสัตว์ (Animal Therapy
การสื่อความหมายทดแทน
-การรับรู้ผ่านการมอง
-โปรแกรมแลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสาร 
-เครื่องโอภา
-โปรแกรมปราศรัย


บทบาทของครู
-ตำแหน่งการนั่งของเด็กไม่ควรให้นั่งติดหน้าต่างหรือประตู
-ให้เด็กนั่งแถวหน้าสุดใกล้โต๊ะครู
-จัดให้เด็กนั่งติดกับนักเรียนที่ไม่ค่อยเล่น ไม่ค่อยคุยในระหว่างเรียน
-ให้เด็กมีกิจกรรม เปลี่ยนอิริยาบถบ้าง

การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ

 ทักษะทางสังคม
-กิจกรรมการเล่น
-ยุทธศาสตร์การสอน
-การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง

ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
-การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา
-ภาษาที่ไม่ใช่คำพูดมาก่อนภาษาพูด
-ให้เวลาเด็กได้พูด
-คอยให้เด็กตอบ (ชี้แนะหากจำเป็น)
-เป็นผู้ฟังที่ดีและโตต้อบอย่างฉับไว (ครูไม่พูดมากเกินไป)
-เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียว
การสอนตามเหตุการณ์




ทักษะการช่วยเหลือตนเอง
    เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด
การกินอยู่
การเข้าห้องน้ำ
การแต่งตัว
กิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน
การสร้างความอิสระ
ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ
หัดให้เด็กทำเอง
ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง

สรุป
-ครูต้องพยายามให้เด็กทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง
-ย่อยงานแต่ละอย่างเป็นขั้นๆ
-ความสำเร็จขั้นเล็กๆนำไปสู่ความสำเร็จทั้งมวล
-ช่วยให้เด็กมีความมั่นใจในตนเอง
                       -เด็กพึ่งตนเองได้ รู้สึกเป็นอิสระ




วันเสาร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2560

วันพุธที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2560

     เนื้อหาการเรียนการสอน
การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย



รูปแบบการจัดการศึกษา
-การศึกษาปกติทั่วไป 
-การศึกษาพิเศษ 
-การศึกษาแบบเรียนร่วม 
-การศึกษาแบบเรียนรวม  
ความหมายของการศึกษาแบบเรียนร่วม 
เด็กที่มีความต้องการพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่
เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา
การเรียนร่วมบางเวลา 
-การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติในบางเวลา
-เด็กพิเศษได้มีโอกาสแสดงออก และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กปกติ 
-เป็นเด็กพิเศษที่มีความพิการระดับปานกลางถึงระดับมาก จึงไม่อาจเรียนร่วมเต็มเวลาได้ 
การเรียนร่วมเต็มเวลา 
-การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติตลอดเวลาที่เด็กอยู่ในโรงเรียน 
-เด็กพิเศษได้รับการจัดกระบวนการเรียนรู้และบริการนอกห้องเรียนเหมือนเด็กปกติ
สรุปความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม
-เป็นการจัดการศึกษาที่จัดให้เด็กพิเศษเข้ามาเรียนรวมกับเด็กปกติ โดยรับเข้ามาเรียนรวมกัน ตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษาและจัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล
-เด็กพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา
บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม
-ครูไม่ควรวินิจฉัย
-ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก
-ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ เช่น พ่อแม่ของเด็กพิเศษ มักทราบดีว่าลูกของเขามีปัญหา พ่อแม่ไม่ต้องการให้ครูมาย้ำในสิ่งที่เขารู้อยู่แล้ว ครูควรพูดในสิ่งที่เป็นความคาดหวังในด้านบวก แต่ต้องไม่ให้เกิดความหวังผิดๆ
ข้อควรระวังในการปฏิบัติ
-ครูต้องไวต่อความรู้สึกและตัดสินใจล่วงหน้าได้
-ประเมินให้น้ำหนักความสำคัญของเรื่องต่างๆได้
-พฤติกรรมบางอย่างของเด็กไม่ได้ปรากฏให้เห็นเสมอไป




หลังจากนั้นอาจารย์จึงได้ให้นักศึกษาวาดรูปดอกบัว



นี่คือผลงานของดิฉัน



การนำไปประยุกต์ใช้
       สามารถนำไปใช้ในการสังเกตเด็กในห้องเรียนรวมว่าเด็กแต่ล่ะคนมีพฤติกรรมแบบไหน และได้รู้จักการประพฤติปฏิบัติกับเด็กอย่างถูกวิธี


วันเสาร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2560

วันพุธที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2560

    อาจารย์ประจำวิชาได้ทำการสอบเก็บคะแนน

......................................

วันเสาร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2560

วันพุธที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2560

    เนื้อหาการเรียนการสอน




เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ 
•มีความรู้สึกนึกคิดที่ผิดไปจากปกติ
•แสดงออกถึงความต้องการทำร้ายตนเองหรือผู้อื่น
•มีความเชื่อมั่นในตนเองต่ำ
•เด็กที่มีการควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในสภาพปกตินานๆ ไม่ได้
•เด็กที่ควบคุมพฤติกรรมบางอย่างของตนเองไม่ได้

•ทำให้ไม่สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเรียบร้อย
ลักษณะของเด็กบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
ความวิตกกังวล 
ภาวะซึมเศร้า 
ปัญหาทางสุขภาพและขาดแรงกระตุ้นหรือความหวังในชีวิต
การจำแนกเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ ตามกลุ่มอาการ
ด้านความประพฤติ 
ทำร้ายผู้อื่น ทำลายสิ่งของ ลักทรัพย์
ฉุนเฉียวง่าย หุนหันพลันแล่น และเกรี้ยวกราด
กลับกลอก เชื่อถือไม่ได้ ชอบโกหก ชอบโทษผู้อื่น
เอะอะและหยาบคาย
หนีเรียน รวมถึงหนีออกจากบ้าน
ใช้สารเสพติด
หมกมุ่นในกิจกรรมทางเพศ





สมาธิสั้น 
มีลักษณะกระวนกระวาย ไม่สามารถนั่งนิ่งๆ ได้ หยุกหยิกไปมา
พูดคุยตลอดเวลา มักรบกวนหรือเรียกร้องความสนใจจากผู้อื่น
มีทักษะการจัดการในระดับต่ำ
ภาวะความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ระดับรุนแรง
ขาดเหตุผลในการคิด
อาการหลงผิด 
อาการประสาทหลอน 
พฤติกรรมการทำร้ายตัวเอง
ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อเด็ก
ไม่สามารถเรียนหนังสือได้เช่นเด็กปกติ
รักษาความสัมพันธ์กับเพื่อนหรือกับครูไม่ได้ 
มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เมื่อเทียบกับเด็กในวัยเดียวกัน
มีความคับข้องใจ มีความเก็บกดอารมณ์
แสดงอาการทางร่างกาย เช่น ปวดศีรษะ ปวดตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย 
มีความหวาดกลัว
Inattentiveness (สมาธิสั้น) 
ทำอะไรได้ไม่นาน วอกแวก ไม่มีสมาธิ
ไม่สามารถจดจ่อกับงานที่กำลังทำได้นานเพียงพอ
มักใจลอยหรือเหม่อลอยง่าย
เด็กเล็กๆจะเล่นอะไรได้ไม่นาน เปลี่ยนของเล่นไปเรื่อยๆ
เด็กโตมักทำงานไม่เสร็จตามที่สั่ง ทำงานตกหล่น ไม่ครบ ไม่ละเอียด
Hyperactivity (ซนอยู่ไม่นิ่ง)
ซุกซนไม่ยอมอยู่นิ่ง ซนมาก
เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา
เหลียวซ้ายแลขวา
ยุกยิก แกะโน่นเกานี่
อยู่ไม่สุข ปีนป่าย
นั่งไม่ติดที่
ชอบคุยส่งเสียงดังรบกวนคนรอบข้าง
ลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
อุจจาระ ปัสสาวะรดเสื้อผ้า หรือที่นอน
ยังติดขวดนม หรือตุ๊กตา และของใช้ในวัยทารก
ดูดนิ้ว กัดเล็บ
หงอยเหงาเศร้าซึม การหนีสังคม
เรียกร้องความสนใจ
อารมณ์หวั่นไหวง่ายต่อสิ่งเร้า
ขี้อิจฉาริษยา ก้าวร้าว
ฝันกลางวัน
พูดเพ้อเจ้อ
เด็กพิการซ้อน 
เด็กที่มีความบกพร่องที่มากกว่าหนึ่งอย่าง เป็นเหตุให้เกิดปัญหาขัดข้องในการเรียนรู้อย่างมาก
เด็กปัญญาอ่อนที่สูญเสียการได้ยิน
เด็กปัญญาอ่อนที่ตาบอด เด็กที่ทั้งหูหนวกและตาบอด

การนำไปประยุกต์ใช้
1.เอาไปใช้ในการมีเรียนการสอนในการเรียนรวม
2.สังเกตและบันทึกพฤติกรรมได้อย่างชัดเจน
3.ปรับสภาพห้องเรียนและกฏระเบียบได้ดี

   
วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560

เนื้อหาการเรียนการสอน

ไปศึกษาดูงานที่โรงเรียนเกษมพิทยา
     







การนำไปประยุกต์ใช้
  
       สามารถเอาความรู้ที่ได้ไปสังเกตการเรียนรู้ของเด็กๆมาทบทวนและเอามาใช้ในห้องเรียนที่จะทำบทบาทสมมติก่อนที่จะนำไปเอาไปใช้จริง และยังได้รู้วิธีปรับตัวกับเด็กพิเศษในการเรียนรวมและเรียนร่วมกับผู้อื่นได้