Chandrekasem Rajabhat University

วันเสาร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2560

วันพุธที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2560

    เนื้อหาการเรียนการสอน




เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ 
•มีความรู้สึกนึกคิดที่ผิดไปจากปกติ
•แสดงออกถึงความต้องการทำร้ายตนเองหรือผู้อื่น
•มีความเชื่อมั่นในตนเองต่ำ
•เด็กที่มีการควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในสภาพปกตินานๆ ไม่ได้
•เด็กที่ควบคุมพฤติกรรมบางอย่างของตนเองไม่ได้

•ทำให้ไม่สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเรียบร้อย
ลักษณะของเด็กบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
ความวิตกกังวล 
ภาวะซึมเศร้า 
ปัญหาทางสุขภาพและขาดแรงกระตุ้นหรือความหวังในชีวิต
การจำแนกเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ ตามกลุ่มอาการ
ด้านความประพฤติ 
ทำร้ายผู้อื่น ทำลายสิ่งของ ลักทรัพย์
ฉุนเฉียวง่าย หุนหันพลันแล่น และเกรี้ยวกราด
กลับกลอก เชื่อถือไม่ได้ ชอบโกหก ชอบโทษผู้อื่น
เอะอะและหยาบคาย
หนีเรียน รวมถึงหนีออกจากบ้าน
ใช้สารเสพติด
หมกมุ่นในกิจกรรมทางเพศ





สมาธิสั้น 
มีลักษณะกระวนกระวาย ไม่สามารถนั่งนิ่งๆ ได้ หยุกหยิกไปมา
พูดคุยตลอดเวลา มักรบกวนหรือเรียกร้องความสนใจจากผู้อื่น
มีทักษะการจัดการในระดับต่ำ
ภาวะความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ระดับรุนแรง
ขาดเหตุผลในการคิด
อาการหลงผิด 
อาการประสาทหลอน 
พฤติกรรมการทำร้ายตัวเอง
ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อเด็ก
ไม่สามารถเรียนหนังสือได้เช่นเด็กปกติ
รักษาความสัมพันธ์กับเพื่อนหรือกับครูไม่ได้ 
มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เมื่อเทียบกับเด็กในวัยเดียวกัน
มีความคับข้องใจ มีความเก็บกดอารมณ์
แสดงอาการทางร่างกาย เช่น ปวดศีรษะ ปวดตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย 
มีความหวาดกลัว
Inattentiveness (สมาธิสั้น) 
ทำอะไรได้ไม่นาน วอกแวก ไม่มีสมาธิ
ไม่สามารถจดจ่อกับงานที่กำลังทำได้นานเพียงพอ
มักใจลอยหรือเหม่อลอยง่าย
เด็กเล็กๆจะเล่นอะไรได้ไม่นาน เปลี่ยนของเล่นไปเรื่อยๆ
เด็กโตมักทำงานไม่เสร็จตามที่สั่ง ทำงานตกหล่น ไม่ครบ ไม่ละเอียด
Hyperactivity (ซนอยู่ไม่นิ่ง)
ซุกซนไม่ยอมอยู่นิ่ง ซนมาก
เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา
เหลียวซ้ายแลขวา
ยุกยิก แกะโน่นเกานี่
อยู่ไม่สุข ปีนป่าย
นั่งไม่ติดที่
ชอบคุยส่งเสียงดังรบกวนคนรอบข้าง
ลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
อุจจาระ ปัสสาวะรดเสื้อผ้า หรือที่นอน
ยังติดขวดนม หรือตุ๊กตา และของใช้ในวัยทารก
ดูดนิ้ว กัดเล็บ
หงอยเหงาเศร้าซึม การหนีสังคม
เรียกร้องความสนใจ
อารมณ์หวั่นไหวง่ายต่อสิ่งเร้า
ขี้อิจฉาริษยา ก้าวร้าว
ฝันกลางวัน
พูดเพ้อเจ้อ
เด็กพิการซ้อน 
เด็กที่มีความบกพร่องที่มากกว่าหนึ่งอย่าง เป็นเหตุให้เกิดปัญหาขัดข้องในการเรียนรู้อย่างมาก
เด็กปัญญาอ่อนที่สูญเสียการได้ยิน
เด็กปัญญาอ่อนที่ตาบอด เด็กที่ทั้งหูหนวกและตาบอด

การนำไปประยุกต์ใช้
1.เอาไปใช้ในการมีเรียนการสอนในการเรียนรวม
2.สังเกตและบันทึกพฤติกรรมได้อย่างชัดเจน
3.ปรับสภาพห้องเรียนและกฏระเบียบได้ดี

   

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น