Chandrekasem Rajabhat University

วันอาทิตย์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560

เนื้อหาการเรียนการสอน




ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้
•เรียกย่อ ๆ ว่า L.D. (Learning Disability)
•เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้เฉพาะอย่าง
•ไม่นับรวมเด็กที่มีปัญหาเพียงเล็กน้อยทางการเรียนเด็กที่มีปัญหาเนื่องจากความพิการหรือความบกพร่องทางร่างกาย
สาเหตุ
•ความผิดปกติของการทำงานของสมองที่ไม่สามารถถอดรหัสตัวอักษรออกมาได้
(เชื่อมโยงภาพตัวอักษรเข้ากับเสียงไม่ได้)
•กรรมพันธุ์

ลักษณะของเด็ก LD ด้านการอ่าน
•อ่านช้า อ่านคำต่อคำ ต้องสะกดคำจึงจะอ่านได้
•อ่านออกเสียงไม่ชัดเจน
•เดาคำเวลาอ่าน
•อ่านข้าม อ่านเพิ่มคำ อ่านผิดประโยคหรือผิดตำแหน่ง
•อ่านโดยไม่เน้นคำ หรือเน้นข้อความบางตอน
•ผันเสียงวรรณยุกต์ไม่ได้
•ไม่รู้ความหมายของเรื่องที่อ่าน
•เล่าเรื่องที่อ่านไม่ได้ จับใจความสำคัญไม่ได้
ลักษณะของเด็ก LD ด้านการเขียน
•ลากเส้นวนๆ ไม่รู้ว่าจะม้วนหัวเข้าในหรือออกนอก ขีดวนๆ ซ้ำๆ
•เรียงลำดับอักษรผิด เช่น สถิติ เป็น สติถิ
•เขียนพยัญชนะหรือตัวเลขสลับกัน
 เช่น ม-น, ภ-ถ, ด-ค, พ-ผ, b-d, p-q, 6-9
•เขียนพยัญชนะ ก-ฮ ไม่ได้ แต่บอกให้เขียนเป็นตัวๆได้
•เขียนพยัญชนะ หรือ ตัวเลขกลับด้าน คล้ายมองจากกระจกเงา
•เขียนคำตามตัวสะกด เช่น เกษตร เป็น กะเสด




ลักษณะของเด็ก LD ด้านการคำนวณ

•ไม่เข้าใจค่าของตัวเลขเช่นหลักหน่วยสิบร้อยพันหมื่นเป็นเท่าใด
•นับเลขไปข้างหน้าหรือถอยหลังไม่ได้
•คำนวณบวกลบคูณหารโดยการนับนิ้ว
•จำสูตรคูณไม่ได้
•เขียนเลขกลับกันเช่น13เป็น31
•ทดไม่เป็นหรือยืมไม่เป็น
•ตีโจทย์เลขไม่ออก
•คำนวณเลขจากซ้ายไปขวาแทนที่จะทำจากขวาไปซ้าย
•ไม่เข้าใจเรื่องเวลา

หลายๆ ด้านร่วมกัน
อาการที่มักเกิดร่วมกับ LD
•แยกแยะขนาดสีและรูปร่างไม่ออก
•มีปัญหาความเข้าใจเกี่ยวกับเวลา
•เขียน/อ่านตัวอักษรสลับซ้าย-ขวา
•งุ่มง่ามการประสานงานของกล้ามเนื้อไม่ดี
•การประสานงานของสายตา-กล้ามเนื้อไม่ดี
•สมาธิไม่ดี (เด็ก LD ร้อยละ 15-20 มีสมาธิสั้น ADHD ร่วมด้วย)
•เขียนตามแบบไม่ค่อยได้
•ทำงานช้า
ออทิสติก (Autistic) 
•หรือ ออทิซึ่ม (Autism)
•เด็กที่ไม่สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
•ไม่สามารถเข้าใจคำพูด ความรู้สึกและความต้องการของผู้อื่น
•ไม่สามารถที่จะสื่อสารกับคนรอบข้างและสังคม
•เด็กออทิสติกแต่ละคนจะมีเอกลักษณ์ของตนเอง
•ติดตัวเด็กไปตลอดชีวิต

ลักษณะของเด็กออทิสติก
•อยู่ในโลกของตนเอง
•ไม่เข้าไปหาใครเพื่อให้ปลอบใจ
•ไม่เข้าไปเล่นในกลุ่มเพื่อน
•ไม่ยอมพูด
•เคลื่อนไหวแบบซ้ำๆ
ความผิดปกติของปฏิสัมพันธ์ทางสังคมอย่างน้อย 2 ข้อ
ไม่สามารถใช้ภาษาท่าทางสื่อสารทางสังคมกับบุคคลอื่น
ไม่สามารถสร้างสัมพันธภาพกับบุคคลให้เหมาะสมตามวัย
ขาดความสามารถในการแสวงหาการมีกิจกรรม ความสนใจ และความสนุก สนานร่วมกับผู้อื่น
ขาดทักษะการสื่อสารทางสังคมและทางอารมณ์กับบุคคลอื่น

การนำไปประยุกต์ใช้

      ใช้ในการสังเกตการสอนเมื่อเราได้ไปพบเจอและใช้ความรู้ที่มีอยู่ให้ถูกต้อง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น