Chandrekasem Rajabhat University

วันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ.2560

     เนื้อหาการเรียนการสอน





เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา
หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่องซึ่งเกิดจากการพูดผิดปกติในด้านความชัดเจนในการปรับปรุงแต่งระดับและคุณภาพของเสียงจังหวะและขั้นตอนของเสียงพูด

1.ความบกพร่องในด้านการปรุงเสียง 
•เสียงบางส่วนของคำขาดหายไป "ความ" เป็น "คาม"
•ออกเสียงของตัวอื่นแทนตัวที่ถูกต้อง "กิน" "จิน"  กวาด ฟาด
•เพิ่มเสียงที่ไม่ใช่เสียงที่ถูกต้องลงไปด้วย "หกล้ม" เป็น "หก-กะ-ล้ม"

•เสียงเพี้ยนหรือแปล่ง "แล้ว" เป็น "แล่ว"
2.ความบกพร่องของจังหวะและขั้นตอนของเสียงพูด 
พูดไม่ถูกตามลำดับขั้นตอน ไม่เป็นไปตามโครงสร้างของภาษา
การเว้นวรรคตอนไม่ถูกต้อง
อัตราการพูดเร็วหรือช้าเกินไป
จังหวะของเสียงพูดผิดปกติ
เสียงพูดขาดความต่อเนื่อง สละสลวย
3. ความบกพร่องของเสียงพูด 
ความบกพร่องของระดับเสียง
เสียงดังหรือค่อยเกินไป
คุณภาพของเสียงไม่ดี
ความบกพร่องทางภาษา
หมายถึง การขาดความสามารถที่จะเข้าใจความหมายของคำพูด 
และ/หรือไม่สามารถแสดงความคิดออกมาเป็นถ้อยคำได้
อ่านไม่ออก (alexia)
เขียนไม่ได้ (agraphia )
สะกดคำไม่ได้
ใช้ภาษาสับสนยุ่งเหยิง
จำคำหรือประโยคไม่ได้
ไม่เข้าใจคำสั่ง
พูดตามหรือบอกชื่อสิ่งของไม่ได้
เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ 
•เด็กที่มีอวัยวะไม่สมส่วน
•อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งหายไป
•เจ็บป่วยเรื้อรังรุนแรง
•มีปัญหาทางระบบประสาท
•มีความลำบากในการเคลื่อนไหว
ลักษณะของเด็กบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ 
•มีปัญหาเกี่ยวกับการทรงตัว
•ท่าเดินคล้ายกรรไกร
•เดินขากะเผลก หรืออึดอาดเชื่องช้า
•ไอเสียงแห้งบ่อย ๆ
•มักบ่นเจ็บหน้าอก บ่นปวดหลัง
•หน้าแดงง่าย มีสีเขียวจางบนแก้ม ริมฝีปากหรือปลายนิ้ว
•หกล้มบ่อย ๆ
•หิวและกระหายน้าอย่างเกินกว่าเหตุ




การนำไปประยุกต์ใช้
      นำไปสังเกตเด็กในแต่ล่ะรายบุคคลเพื่อที่จะได้ทำความเข้าใจในสิ่งที่เด็กเป็นและปรับตัวเข้ากับเขาได้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น